พระพิราพปาฏิหาริย์บันดาลทรัพย์

วันอังคารที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2553

พระราหู

พระราหูและพระพิราพ
บังเอิญว่างานเข้าพร้อมกันก็เลยเขียนสีพร้อมกันไป
ขออธิบายตรงพระพิราพนิดนะครับ
ก็เป็นองค์เดียวกันกับที่สร้างถวาย วัดบางกร่างครับ
พอดีทางวัดให้กลับมาเขียนสีก็เลยออกมาอย่างที่เห็นในรูป
แปลกนะครับหมู่นี้มีแต่สายยักษ์
แต่เป็นยักษ์ใจดีทั้งนั้นเลย
หรือจะคลิ๊กเข้าไปดูก็

พระราหู
ที่เห็นอยู่นี้ก็เป็นบล็อกหรือแม่พิมพ์เดียวกัน
กับที่เคยลงในบทความที่แล้วๆมาครับ
องค์แรกนั้นไปอยู่แดนไกล
พระราหูองค์นี้ถึงจะอยู่เมืองไทย
แต่ก็ไกลกรุงเทพฯโขอยู่
แตกต่างจากองค์แรกก็ตรง
เขียนสีให้ดูมีชีวิตชีวาหน่อย

ขั้นตอนนี้ก็เกือบจะ 80%ของงานเขียนสีพระราหูแล้วครับ
แต่ก็อย่างที่เคยอธิบายไว้ในตอนที่ผ่านๆมา
ว่าสีทองที่พ่นนั้นจะมีความมันวาว
ดังนั้นสีที่เขียนท้บลงไปก็ต้องทาทับ 2-3 ชั้น
ขั้นตอนเขียนสีพระราหูเสร็จแล้วก็
ติดจอนหู ตรวจดูความเรียบร้อยอีกที่
ก็พร้อมส่งครับ

ข้อดีของการเขียนสีก็คือดูมีชีวิตชีวาดี
อยากได้สีอะไรก็เติมลงไปได้ถ้าไม่ผิดตำรา
เพราะงานประเพณีคืองานที่มีกรอบมีกฏมีเกณฑ์
การปรุงแต่งแต่พองามไม่ให้เสียกรอบเสียระเบียบก็คงไม่มีใครว่า
แต่ข้อเสียของการเขียนสีแบบนี้ก็ตรงที่ไม่ควรตั้งกลางแจ้ง
เพราะไม่มีสีอะไรในโลกนี้ทนแดดทนฝนได้นาน
ส่วนวัสดุนั้นมันไม่ย่อยสลายอยู่แล้วครับ
อีกอย่างของที่ทำเพื่อมงคล กราบไหว้บูชา
ที่หลายท่านบอกว่าควรตั้งกลางแจ้งนั้น
เขาหมายถึงแยกออกมาต่างหาก
ไม่รวมอยู่ในตัวอาคารหรือบ้านเรือน
แต่ควรทำศาลาหรือซุ้มหรือศาลให้โดยเฉพาะ
ที่ร่ายมาทั้งหมดนี้ คิดเองเออเองนะครับ
ผิดพลาดประการไดก็ขอโทษท่านผู้รู้ด้วยแล้วกัน
เรียนมาน้อยและไม่ค่อยเข้าเรียนครับ
ท้วงติงได้ ที่อยู่ก็ตรงส่วนหัวของบล็อกครับ
สวัสดี
....