บางคนมีความเชื่อว่า ไม่ควรปลูกต้นลั่นทมในบ้าน
เนื่องจากมีชื่อเป็นอัปมงคล คือไปพ้องกับคำว่า 'ระทม' ซึ่งแปลว่า เศร้าโศก ทุกข์ใจ
แต่ปัจจุบันนิยมเรียกชื่อใหม่ ว่า ลีลาวดี และนิยมปลูกกันแพร่หลายอย่างมาก
ชื่อพื้นเมืองอื่นๆ ได้แก่ จำปา, จำปาลาว และจำปาขอม เป็นต้น
(สำหรับชื่อภาษาอังกกฤษ ได้แก่ Frangipani, Plumeria, Templetree)
ลั่นทม เป็นไม้ที่นำมาจากเขมร
ลั่นทม เป็นไม้ที่นำมาจากเขมร
ทางภาคใต้ เรียกชื่อว่า "ต้นขอม" "ดอกอม" ส่วนใหญ่ที่ปลูกกันเป็น "ลั่นทมขาว"
เล่ากันว่า ไม้นี้นำเข้ามาปลูกในไทย เมื่อคราวไปตีนครธม
ได้ชัยชนะ นำต้นไม้นี้เข้ามาปลูก และเรียกชื่อเป็นที่ระลึกว่า "ลั่นธม"
"ลั่น" แปลว่ ตี เช่น ลั่นฆ้อง ลั่นกลอง
"ธม" หมายถึง "นครธม"
ภายหลัง "ลั่นธม" เพี้ยนเป็น "ลั่นทม"
ลั่นทมเป็นพืชนิยมปลูกเพราะดอกมีสีสันหลากหลาย สวยงาม ได้แก่ขาว
ลั่นทมเป็นพืชนิยมปลูกเพราะดอกมีสีสันหลากหลาย สวยงาม ได้แก่ขาว
เหลืองอ่อน แดง ชมพู ฯลฯ บางดอกมีมากกว่า 1 สี
ดอกลั่นทมยังเป็นดอกไม้ประจำชาติของประเทศลาว
ดอกลั่นทมยังเป็นดอกไม้ประจำชาติของประเทศลาว
และพบได้มากบริเวณทางขึ้นพระธาตุที่เมืองหลวงพระบาง
สำหรับในประเทศไทยนั้นมักพบต้นลั่นทมตามธรรมชาติทางภาคเหนือเป็นส่วนใหญ่
คนโบราณมีความเชื่อว่า ต้นลั่นทมนั้น ไม่ควรปลูกในบ้าน
ด้วยมีชื่ออัปมงคล คือไปพ้องกับคำว่า ระทม ซึ่งแปลว่า เศร้าโศก ทุกข์ใจ,
จึงได้มีการเรียกชื่อเสียใหม่ให้เป็นมงคล ว่า ลีลาวดี
ทั้งนี้ไม่ได้มีการกำหนดเปลี่ยนชื่อแต่อย่างใด
มีความเข้าใจผิดกันว่า ลีลาวดี นั้นเป็นชื่อพระราชทาน
มีความเข้าใจผิดกันว่า ลีลาวดี นั้นเป็นชื่อพระราชทาน
จากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ แต่แท้ที่จริงแล้วไม่ใช่
เป็นเพียงความเข้าใจผิด
เพราะเป็นชื่อพระราชทานจาก สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ
ลีลาวดี ถ้าแปลตามความหมายตามอักษรแล้ว
ลีลาวดี ถ้าแปลตามความหมายตามอักษรแล้ว
ก็คือต้นดอกไม้ที่มีท่วงท่าสวยงามอ่อนช้อย
ไม้นี้เดิมเรียก ลั่นทม
เป็นไม้ยืนต้นในเขตร้อน ที่เห็นทั่วๆไปมีดอกสีขาว แดง ชมพู
ชื่อเดิมของพันธุ์ไม้นี้คนส่วนใหญ่เข้าใจว่าคำนี้ มาจากคำว่า ระทม
ซึ่งหมายถึงความเศร้าโศก
จึงไม่เป็นที่นิยมปลูกในบริเวณบ้านหรือที่อยู่อาศัย
อย่างไรก็ตามมีผู้มีความรู้ด้านภาษาไทยกล่าวถึงคำว่า ลั่นทม ว่า
ลั่นทมที่เรียกกันแต่โบราณ หมายถึง
การละแล้วซึ่งความโศกเศร้าแล้วมีความสุข
ดังนั้นคำว่า ลั่นทม แท้จริงแล้วเป็นคำผสมจาก ลั่น+ทม
โดยคำแรกหมายถึง แตกหัก ละทิ้ง
และคำหลังหมายถึงความทุกข์โศก
.........
แต่ทั้งหมดนี้จะอะไรก็แล้วแต่ครับ
ตราบใดที่มีคนซื้อก็มีคนขายและคนทำเสมอ
ส่วนเรื่องอื่นๆก็
ครับท่าน
........