เทวดาประจำทิศทั้งแปด
คติการเคารพนับถือเทวดาหรือเทพเจ้าในสังคมไทย
มีมาช้านานและมีการผนวกเอาความเชื่อดั้งเดิมในท้องถิ่น
กับความเชื่อทางพุทธศาสนาเข้าด้วยกันอย่างแนบแน่นแยกกันแทบไม่ออก
แต่ในส่วนของบทความนี้จะเน้นเฉพาะที่เป็นรูปแบบเท่านั้น
ไม่ขอลงรายละเอียด
1.พระไพศรพณ์(พระ-ไพ-สบ)
พระวรกายสีทอง พระภูษาแดง พระหัตถ์ขวาถือกระบอง
พระหัตถ์ซ้ายให้อภัย ทรงมนุษย์เป็นบริวาร
เป็นเทพยดาประจำทิศ อุดร(ทิศเหนือ)
มีหน้าที่รักษาความเรียบร้อยยุติธรรมในสวรรค์
เป็นเทวดา สัญญลักษณ์ของอัยการ
ซึ่งบางตำนานมีการบอกเล่ากันมาว่าเป็นเทพองค์เดียวกัน
2.พระยม(ท้าวพญายมราช)
พระวรกายสีดำ ภูษาแดง
พระหัตถ์ขวาทรง คฑา เชือกหรือบ่างบาศ
บางตำราบอกว่าพระหัตถ์ซ้ายทรงพระขรรค์
ทรงควายเป็นพาหนะ เป็นเทวดาประจำทิศ ทักษิณ(ทิศใต้)
3.พระอินทร์
ทรงช้างเป็นพาหนะ พระวรกายผิวคล้ำ ภูษาแดง
พระหัตถ์ขวาทรงถือวัชระ(ตรี)
บางตำราบอกว่าพระหุตถ์ซ้ายทรงขอช้าง
เป็นเทวดาประจำทิศบูรพา(ทิศตะวันออก)
4.พระวรุณ(พระพิรุณ)
เทพห่ งฝนพระวรกายสีขาว พระภูษาสีเหลือง
พระหัตถ์ขวาทรงถือเชือกบ่วงบาศ
เมื่อมีผู้ทำบาปพระพิรุณจักใช้บ่วงคล้องผู้นั้นไปหาพญายมราช
เพื่อนำไปลงทัณฑ์ พระหัต์ซ้ายทรงประทานพร
ทรงม้าเป็นพาหนะบาง ตำราบอกว่าทรงจระเข้
เป็นเทวดาประจำทิศประจิม(ทิศตะวันตก)
พระวรุณในความเชื่อของคนไทยว่าเป็นผู้ให้ฝน ให้น้ำ ถือพระขรรค์
ทรงพญานาค หรือมกร เป็นพาหนะ จึงเป็นสัญลักษ์ของหน่วยงานราชการที่เกี่ยวกับการเกษตร อาทิ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
5.พระอิศาณ
พระวรกายสีขาว พระภูษาสีขาว
พระหัตถ์ขวงทรงถือตรีศูล
บางตำราบอกว่าพระหัตถ์ซ้ายทรงถือสังวาลย์นาค
ทรงวัวเป็นพาหนะ เป็นเทวดาประจำทิศอีสาน(ตะวันออกเฉียงเหนือ)
6.พระอัคนี
พระวรกายสีแดง ภูษาสีแดง
บางตำราบอกว่าพรหัตถ์ขวาทรงช้อน
พระหัตถ์ขวาทรงหอก
บ้างก็มี ขวาน คบไฟ สายประคำ
พาหนะคือแกะ
เป็นเทวดาประจำทิศอาคเนย์(ทิศตะวันออกเฉียงใต้)
7.พระไนรฤติ(พระนิรฤติ)
พระวรกายสีขาว ภูษาสีเหลือง
พระหัตถ์ขวาทรงถือดาบ บ้างก็ว่าพระหัต์ซ้ายทรงโล่
พาหนะคือม้า เป็นเทวดาประจำทิศ หรดี(ทิศตะวันตกเฉียงใต้)
8.พระพายุ
พระวรกายสีดำ พระภูษาสีขาว
พระหัตถ์ขวาทรงถือธง บ้างก้ว่าพระหัตถ์ซ้ายทรงพระขรรค์
มีกวางเป็นพาหนะเป็นเทวดาประจำทิศ พายัพ(ทิศตะวันตกเฉียงเหนือ)
............