พระพิราพปาฏิหาริย์บันดาลทรัพย์

วันศุกร์ที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2554

การทำแม่พิมพ์พระพุทธรูป

ลำดับขั้นตอนการทำพิมพ์พระพุทธรูป
หลังจากส่งงานแกะโฟมพระปรางค์วัดอรุณฯ
ก็เลยถือโอกาสนี้ทำพระตามที่ตั้งใจไว้เมื่อปีที่แล้ว
ประกอบกับงานนี้มีเจ้าภาพและเจ้าภาพก็รอมาตั้งแต่ออกพรรษา
ปีที่แล้ว มาเสร็จเอาก็ช่วงนี้แหละครับ
ขนาดก็เท่าคนจริงหรือเล็กกว่านิดหน่อย
ลำดับขั้นตอนการทำแม่พิมพ์พระพุทธรูป

หลังจากได้ต้นแบบที่เป็นขี้ผึ้งแล้วก็เตรียมการทำแม่พิมพ์
แบ่งพิมพ์กั้นพิมพ์
ดูในบทความพระพิราพและการทำพิมพ์พระพิราพประกอบ
ลำดับขั้นตอนการทำแม่พิมพ์พระพุทธรูป
งานนี้เลือกใช้ยางซิลิโคนครับ
ทายางซิลิโคน-ปูผ้าสลับกันไปให้ได้ความหนาตามความเหมาะสม
และก็ทำพิมพ์ครอบตามปกติ
(ดูการทำพิมพ์พระพิราพประกอบ)

ลำดับขั้นตอนการทำแม่พิมพ์พระพุทธรูป
ด้านหลังก็เหมือนกันครับขั้นตอนก็เริ่มเหมือนกันกับด้านหน้า


ลำดับขั้นตอนการทำแม่พิมพ์พระพุทธรูป
ดึงแม่พิมพ์ครอบออกและก็ดึงแม่พิมพ์ยางซิลิโคนออก
ก็จะได้ดังในรูป
ส่วนนี้ผึ้งนั้นก็นำไปหลอมสำหรับงานปั้นต่อไป
ส่วนขั้นตอนการหล่อไฟเบอร์นั้นผมเคยลงไว้แล้วในเรื่อง
พระพิราพองค์ใหญ่หาดูย้อนหลังได้

ลำดับขั้นตอนการทำแม่พิมพ์พระพุทธรูป
ขัดแต่งทำสีเสร็จก็ออกมาอย่างที่เห็นนะครับ
ส่วนจะยังไงต่อไปก็ เร็วๆนี้ครับ
...............
http://www.art-86.blogspot.com/







วันพฤหัสบดีที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2554

กะลาตาเดียว

กะลาตาเดียวแกะพระราหูอมพระอาทิตย์
หลังจากส่งงานแกะโฟมรูปพระปรางค์วัดอรุณฯไปแล้ว
ก็เป็นช่วงที่อยากจะทำงานบางชิ้นบางอันที่ตั้งใจไว้ให้เสร็จ
ก็ไปได้ชิ้นส่วนของกะลาตาเดียวมาชิ้นหนึ่ง
ทีแรกก็ตั้งใจว่าจะแกะเฉพาะยันตร์หน้าและยันตร์หล้ง
อย่างละอัน
ทำไปทำมาก็ยังอยากจะได้รูปพระราหูอยู่ดี
ก็ออกมาอย่างที่เห็นนี่แหละครับ

กะลาตาเดียวแกะพระราหูอมพระอาทิตย์
ส่วนด้านหลังของกะลาตาเดียวนั้นก็ลงยันตร์สุริยะประภาเหมือนกัน
แล้วทีนี้จะรู้ได้ไงว่า อันไหน
พระราหูอมจันทร์,พระราหูอมพระอาทิตย์
ก็ลองดูรูปข้างล่างนะครับ
รูปพระราหูอมจันทร์,พระราหูอมพระอาทิตย์
ที่ดัดแปลงมาเป็นพระราหูอุ้มดวง,พระราหูหนุนดวง ฯลฯ
แล้วแต่จะเรียก โดยดูที่มือของพระราหู
จะมีลักษณะ อุ้มหรือประคองไว้

พระราหูอุ้มดวง,พระราหูหนุนดวง
เนื่องจากกะลาลูกนี้เป็นกะลาตาเดียวตัวเมีย
มี 3 ซีก
ดังนั้นด้านนี้จึงลงเป็นยันตร์จันทรประภา

และอีกด้านนี้ ก็เป็นยันตร์สุริยะประภา
ทีนี้ความแตกต่างของยันตร์ทั้งสองเมื่อเทียบกันดูก็คงรู้แล้วนะครับ
ว่าอันไหนเป็น พระราหูอมจันทร์,พระราหูอมพระอาทิตย์
.................
ส่วนสีของกะลาตาเดียวลูกนี้จะต่างจากลูก
ที่ผมเคยนำลงไว้ในบทความที่ผ่านๆมา
ที่บางลูกก็สีน้ำตาลแดง
บางลูกก็สีดำสนิท
แล้วทำไมลูกนี้สีจึงขาวนวล
หรือจะเป็นกะลาตาเดียวเผือก...........
.........กะลาเผือกตาเดียว........
ก็แล้วแต่จะเรียกครับ

...............