พระพิราพปาฏิหาริย์บันดาลทรัพย์

วันพฤหัสบดีที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2553

แกะโฟม

แกะโฟม

แกะโฟม

แกะโฟมกินนร,กินรี




มีอยู่วันหนึ่งเสียงโทรศัพท์ดังขึ้นพร้อมกับคำถามว่า


ผมเลิกทำงานแกะโฟมแล้วเหรอ


เห็นพักหลังๆมานี่ในบล็อกมีแต่งานที่ออกไปในแนวงาน


ปั้น หล่อเต็มไปหมด


คำตอบก็ที่เห็นนี่แหละครับ


ก็ยังรับอยู่เป็นปกติ แต่ที่พักหลังลงแต่งานปั้นหล่อ มากสักหน่อย


ก็เพราะจังหวะพาไป




......


ในการเขียนบล็อกของผมไม่มีการวางแผนล่วงหน้า


ไม่มีการเตรียมล่วงหน้า


ว่างก็ลุยเลย


บางงานก็ลืมถ่ายรูป





แกะโฟมพระปราค์วัดอรุณฯ
ชิ้นส่วนบางอันของพระปราค์วัดอรุณฯ



แกะโฟมพระปราค์วัดอรุณฯ
เอาไว้หลังปีใหม่งานแกะโฟมพระปรางค์วัดอรุณฯนี้
จะนำมาลงให้เห็นลำดับการทำงานต่างๆ



แกะโฟมสัตว์หิมพานต์


รูปต่างๆขนาดก็ประมาณ 2.5 เมตร



แกะโฟม
ส่วนนี่ก็เป็นตอนที่แกะยังไม่เสร็จ





หลังจากที่แกะโฟมเสร็จแล้วก็ขัดแต่งผิง รองพื้น


แล้วก็ทำสีครับ




แกะโฟม



ส่วนปีนี้ก็คงพอแค่นี้ครับ


ในปี 2554 นี้ ยังมีงานใหญ่รออยู่


ส่วนจะเป็นอะไรนั้นก็คงต้องค่อยๆติดตามกันครับ


หรือจะเข้าไปดูงานอื่นก็








หรือไม่ก็






สำหรับวันนี้


สวัสดีครับ


........





วันอังคารที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2553

กะลาตาเดียว

กะลาตาเดียวลูกที่ 3
มันเป็นเรื่องของจังหวะที่ค่อนข้างจะขบกันนิดๆ
มันมีเวลาอยู่นิดนึงถ้าจะทำงานหลักก็คงทำอะไรได้ไม่มาก
ไอ้การที่จะทำงานอย่างอื่น ฝนก็ตกหนัก
หันรีหันขวางไปเจอเอากะลาตาเดียวพอดี
ก็เลยจับมาร่างเส้นเบาๆไว้กะว่าจะแกะตอนว่าง
ทำไปทำมาฝนทำท่าว่าจะตกยาวก็เลยลงสิ่งซะเลย
แต่จากประสบการณ์การแกะกะลาตาเดียวที่ผ่านมา
มันก็ยังไม่ได้ดังใจเท่าไหร่
ลูกแรกก็แกะแบบเกร็งๆ
ลูกที่สองก็เอียง
พอมาถึงลูกที่สามก็ที่เห็นนี่แหละครับ
กะลาตาเดียวลูกที่3
กะลาตาเดียวลูกนี้จะมีพิเศษกว่าลูกอื่นๆก็คือ
มีการแกะยันต์จันทระประภาลงไปด้วย
ทั้งด้านหน้าและด้านหลัง

กะลาตาเดียวลูกที่3
กะลาตาเดียวแกะยันต์จันทระประภาด้านหลัง
ถ้าเกิดมีใครสงสัยว่าแล้วผมเขียนยันต์เป็น?
หรือเขียนได้ยังไง?
ก็ตอบว่า...ก็ถามท่านผู้รู้ครับ
ขอให้ท่านสาธิตวิธีการเขียนให้ดู แล้วผมก็มาซ้อมมือเพิ่มเติม
ระหว่างที่รอจะส่งคืนท่านเจ้าของกะลาตาเดียวลูกนี้
ผมก็เลยถือโอกาสตั้งไว้บนโต๊ะหมู่บูชาพระที่บ้านไปพลางๆ
วางคู่กับกะลาตาเดียวลูกที่ 2 ที่เก็บไว้บูชาเอง


กะลาตาเดียวลูกที่2
หลังจากที่รู้วิธีการเขียนยันต์พระราหูแล้ว
ก็นึกอยากจะเขียนลงบนกะลาตาเดียวของตัวเองบ้าง
แต่ก็ยังสองจิตสองใจว่าจะเขียนเป็น
ยันต์จันทระประภาหรือยันต์สุริยะประภา ดี
สังเกตุให้ดีลูกนี้แกะเอียงครับ
ประมาทไปหน่อยไม่ได้วัดระยะและดิ่ง
แต่ก็อย่างว่า ครับ งานทำมือ


กะลาตาเดียวลูกที่1
กะลาตาเดียวลูกนี้ไม่รู้ไปตกอยู่ส่วนไหนของโลก
เพราะตั้งแต่รับแกะ จนส่งงานไปก็ หายไปเลยครับ
มีแต่ฝากบอกคนข้างๆว่าจะส่ง
กะลาตาเดียวลูกสวยๆมาให้ตอบแทนน้ำใจหนึ่งลูก
นี่ถ้าใด้มาจริงๆก็คงจะแกะเป็น
พระราหูลงยันต์สุริยะประภาหน้าหล้ง
และพระราหูลงยันต์จันทระประภาหน้าหล้ง
อย่างละลูกคงสนุกน่าดู

*********************

กะลาตาเดียวที่นำมาลงไว้นี้ขอย้ำว่าทำเป็นงานอดิเรกนะครับ
ทำเพราะอยากทำ อยากลอง นึกสนุกเข้าว่า
แต่พอได้ไปอ่านตำรับตำราที่อาจารย์ท่านทั้งหลาย
แต่งบรรยายไว้เห็นท่านบอกว่า
ยันต์พระราหูที่ทำถูกต้องครบถ้วนตามตำรานั้น
หาได้เป็นสอง รองยันต์ใดๆในโลกนี้ไม่
ว่ากันขนาดนั้นเลยทีเดียว
.......

เดี๋ยวคราวหน้าว่าจะหากะลาตาเดียวที่แตกหรือเป็นเศษ
มาซักชิ้นว่าจะลองแกะเป็นรูปพระพิราพ
พ่อแก่ หรือพระพิฆเนศวร ดู
ขนาดน่าจะเอาให้พอเหมาะกับการแขวนคอ
ก็น่าจะสวยไปอีกแบบและเป็นของที่ไม่ค่อยมีคนทำ
เพราะบางคนเคยบอกว่ากะลาตาเดียวเป็นของมีอาถรรพ์ในตัว
ไม่ต้องปลุกเสกก็ขลัง ว่างั้น
ก็เอาไว้งานเพลาๆมือเมื่อไหร่คงได้มีโอกาสนำเสนอครับ
สำหรับวันนี้สว้สดีครับ
พรุ่งนี้งานหนักยังรออยู่
......


วันอังคารที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2553

พระพิฆเนศวร

พระพิฆเนศวร
หลังจากที่ค่อยๆสะสางงานทีละอย่าง
เสร็จไปทีละชิ้น
คราวนี้ก็มาถึงคิวของ
พระพิฆเนศวร บ้างครับ
หลายท่านอาจจะสงสัยว่า
ปกติแล้วจะเห็นพระพิฆเนศวร 4 มือพร้อมอาวุธ
หรืออื่นๆตามแต่ความเชื่อและเคยเห็นของแต่ละคน
แล้วทำไมของผมจึงมี 2 มือแถมอาวุธก็ไม่มี
ก็ต้องขออธิบายว่า
จริงๆแล้วจะกี่มือจะถืออาวุธหรือแต่งองค์ทรงเครื่อง
ยังไงมันเป็นเรื่องของใครของมันครับ
แล้วแต่ว่าจะโดนหมอดู ร่างทรงทัก
หรือไปอ่านหนังสือ ตำรา เล่มไหนมา
คนบ้าอำนาจก็ชอบท่าที่จะถืออาวุธขี่สัตว์ดุร้าย
คนขี้เกียจสันหลังยาวก็มักจะชอบท่า
นั่งนอนอยู่บนกองเงินกองทอง
แถมต้องมีสนมนางกำนัลคอยนวดฝ่าเท้าก็ยังมี
หรือจะเป็นท่านั่งบัลลังค์
ท่าคลาน ท่ายืน ท่ารำ ฯลฯ
ทั้งหมดนั้นแล้วแต่จะถูกกับจริตและการปรุงแต่งของแต่ละคน
ส่วนกรณีของผมก็คงไม่ต่างไปจากที่ร่ายมาทั้งหมด
ผมก็มีวิธีคิดและความเชื่ออีกแบบที่ไม่ค่อยจะเหมือนใคร
ส่วนหนึ่งอาจเพราะเรียนมาน้อยและขี้เกียจ
ส่วนหนึ่งอาจเป็นเพราะรู้สึกว่า
งานปั้นที่แสดงจังหวะแสงเงา รูปทรง สัดส่วน
ที่พอเหมาะพอดีนั้นมันสร้างยากกว่า
งานที่ประดับประดาด้วยเครื่องทรง
และลวดลายที่ละเอียดถี่ยิบ
เพราะผมมีความเชื่ออีกอย่างว่า
ยิ่งเรียบง่ายยิ่งยุ่งยาก
แต่ถ้าพูดมาอย่างนี้ก็ขัดกับชาวบ้าน
ว่ามันจะยากอะไร ไม่เห็นมีลวดลายเลย
หาว่าเอาเปรียบบ้าง ลายไม่ใส่หักค่าแรงบ้างเป็นต้น ก็ว่ากันไป
ไม่เป็นไรครับ ผมยังยืนยันที่จะทำตามใจตัวเองต่อไป
ถ้าผู้สั่งทำกับผู้รับทำคุยกันไม่รู้เรื่อง
งานมันคงไม่เกิด นะครับ
ทีนี้ลำดับต่อไปก็จะเป็นขั้นตอนของการทำแม่พิมพ์
หล่อขัดแต่งและทำสี
ส่วนจะนำมาลงในบล็อกอีกตอนไหนก็ค่อยๆติดตามนะครับ
เพราะตอนนี้ก็มีหลายชิ้นที่ยังรอการสะสาง
สำหรับวันนี้ สวัสดี
......

วันเสาร์ที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2553

กะลาตาเดียว

พระราหูกะลาตาเดียว

พระราหูกะลาตาเดียว



พระราหูกะลาตาเดียว

หมู่นี่ไม่รู้เกิดอะไรขึ้น
งานที่เข้ามาก็มีแต่สายยักษ์


หลังจากส่งงานพระราหูองค์ใหญ่เสร็จ

ก็เหลือบไปเห็นกะลาตาเดียวที่ยังแกะค้างไว้นานมาก

ก็เลยหยิบขึ้นมาสะสางต่อซะให้เสร็จๆไป

ลูกที่เห็นนี้เป็นลูกที่ 2 ที่แกะรูปพระราหูอมจันทร์

เป็นกะลาตัวผู้สีดำเข้มสวยและหนาดี

ส่วนกะลาตาเดียวตัวผู้หรือตัวเมียนั้น

ผมเคยลงในบทความตอนที่แกะกะลาตาเดียวลูกแรกไปแล้ว

หาอ่านย้อนหล้งได้

ทีนี้ก็เหลือกะลาตาเดียวอีก 2ลูกที่ต้องแกะ

เป็นตัวเมียทั้งสองลูก

และรูปที่จะแกะก็วางแผนไว้แล้ว

หนึ่งในสองลูกนั้นคงไม่ใช่แกะพระราหูอมจันทร์แน่

แต่จะแกะเป็นหน้าสามหน้าโดยรอบกะลาตาเดียว

ส่วนจะเป็นรูปอะไรนั้น ก็

นานครับกว่าจะเสร็จและมานำเสนอในบล็อก

ส่วนตอนนี้ก็ดูงานอื่นไปพลางๆก่อนครับ


ที่




........


วันอังคารที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2553

พระราหู

พระราหูและพระพิราพ
บังเอิญว่างานเข้าพร้อมกันก็เลยเขียนสีพร้อมกันไป
ขออธิบายตรงพระพิราพนิดนะครับ
ก็เป็นองค์เดียวกันกับที่สร้างถวาย วัดบางกร่างครับ
พอดีทางวัดให้กลับมาเขียนสีก็เลยออกมาอย่างที่เห็นในรูป
แปลกนะครับหมู่นี้มีแต่สายยักษ์
แต่เป็นยักษ์ใจดีทั้งนั้นเลย
หรือจะคลิ๊กเข้าไปดูก็

พระราหู
ที่เห็นอยู่นี้ก็เป็นบล็อกหรือแม่พิมพ์เดียวกัน
กับที่เคยลงในบทความที่แล้วๆมาครับ
องค์แรกนั้นไปอยู่แดนไกล
พระราหูองค์นี้ถึงจะอยู่เมืองไทย
แต่ก็ไกลกรุงเทพฯโขอยู่
แตกต่างจากองค์แรกก็ตรง
เขียนสีให้ดูมีชีวิตชีวาหน่อย

ขั้นตอนนี้ก็เกือบจะ 80%ของงานเขียนสีพระราหูแล้วครับ
แต่ก็อย่างที่เคยอธิบายไว้ในตอนที่ผ่านๆมา
ว่าสีทองที่พ่นนั้นจะมีความมันวาว
ดังนั้นสีที่เขียนท้บลงไปก็ต้องทาทับ 2-3 ชั้น
ขั้นตอนเขียนสีพระราหูเสร็จแล้วก็
ติดจอนหู ตรวจดูความเรียบร้อยอีกที่
ก็พร้อมส่งครับ

ข้อดีของการเขียนสีก็คือดูมีชีวิตชีวาดี
อยากได้สีอะไรก็เติมลงไปได้ถ้าไม่ผิดตำรา
เพราะงานประเพณีคืองานที่มีกรอบมีกฏมีเกณฑ์
การปรุงแต่งแต่พองามไม่ให้เสียกรอบเสียระเบียบก็คงไม่มีใครว่า
แต่ข้อเสียของการเขียนสีแบบนี้ก็ตรงที่ไม่ควรตั้งกลางแจ้ง
เพราะไม่มีสีอะไรในโลกนี้ทนแดดทนฝนได้นาน
ส่วนวัสดุนั้นมันไม่ย่อยสลายอยู่แล้วครับ
อีกอย่างของที่ทำเพื่อมงคล กราบไหว้บูชา
ที่หลายท่านบอกว่าควรตั้งกลางแจ้งนั้น
เขาหมายถึงแยกออกมาต่างหาก
ไม่รวมอยู่ในตัวอาคารหรือบ้านเรือน
แต่ควรทำศาลาหรือซุ้มหรือศาลให้โดยเฉพาะ
ที่ร่ายมาทั้งหมดนี้ คิดเองเออเองนะครับ
ผิดพลาดประการไดก็ขอโทษท่านผู้รู้ด้วยแล้วกัน
เรียนมาน้อยและไม่ค่อยเข้าเรียนครับ
ท้วงติงได้ ที่อยู่ก็ตรงส่วนหัวของบล็อกครับ
สวัสดี
....

วันจันทร์ที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

พระพิราพ

พระพิราพ

พระพิราพ
เมื่อวาน 18 ก.ค.

ได้ไปงานที่วัดบางกร่าง นนทบุรี

มีงาน พิธีเจริญพระพุทธมนต์คาถาบังไพรเที่ยงวันถึงเที่ยงคืน

และพิธีจุดเทียนมงคลประจำตัวบูชาพระรัตนตรัย

ส่วนพระพิราพที่เห็นเป็นองค์ที่ผมขออนุญาตเจ้าของ
และท่านเจ้าของแบบก็ตอบตกลงแล้ว

เพื่อสร้างถวายที่วัดบางกร่าง

แต่รายละเอียดเปลี่ยนไปตรงที่ ฐานพระพิราพ

เป็นโขดหิน และทำสีทองล้วน

ส่วนอาวุธและเครื่องประดับก็ลดทอนรายละเอียด

ลงเล็กน้อยตามกำลังทรัพย์ครับ

ส่วนบรรยากาศงานที่วัดก็


...........
หรือจะเข้าดูเว็บไซส์ของวัดก็

ครับ
....


พระพิราพองค์นี้อยู่ในตู้ที่วัด บางกร่างครับ

พระพิราพองค์นี้ก็อยู่ที่วัดบางกร่างครับ

สังเกตุให้ดีก็ตรงผ้านุ่งนะครับ สีผ้านุ่งต่างกัน



ส่วนพระพิราพ 3 องค์
นี้ก็นำมาให้ดูเปรียบเทียบความงามกันครับ
ความงามก็คนละแบบ
เพราะคนละช่าง
เสียดายรุ่นนี้สร้างน้อยเหลือเกิน
.......


วันศุกร์ที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

พระพิราพ

พระพิราพ
วันนี้นำผลพวงจากการปั้นองค์พระพิราพองค์ใหญ่มาให้ชมครับ
จากบทความก่อนหน้านี้จะเห็นได้ว่าส่วนที่เป็นกระจังหน้า
พระพิราพองค์ใหญ่นั้นจะมีหน้าพระพิราพเล็กๆติดอยู่
ก็เลยนำมาหล่อแล้วปิดทองเขียนสี เลี่ยมกรอบกันน้ำไว้พกพาติดตัวครับ

นอกจากจะมีพระพิราพหน้าทองแล้วยังมีหน้าม่วงอีกนะครับ

ฝีมือการเขียนสีนั้นช่างสุดยอดฝีมือจริงๆ

เท่านั้นยังไม่พอครับเมื่อพลิกไปด้านหล้งก็จะเจอกับ

เศียรพ่อแก่ขนาดเล็กที่มีคนใจดีแบ่งให้บูชาติดตัวอีก

เล็กขนาดนี้ช่างสีก็ยังสามารถปิดทองเขียนสีได้อีก

พระพิราพหน้านี้ก็เหมือนกันครับ

ถ้าดูจากพระพิราพองค์ใหญที่ปั้น

พระพิราพหน้านี้จะเป็นแหวนพระพิราพที่ติดอยู่กับนิ้วทั้ง 10

มีทั้งที่เป็นพระพิราพหน้าทองและพระพิราพหน้าม่วง

และที่จะลืมไม่ได้คือเศียรพ่อแก่จะต้องมีติดไว้ด้านหล้ง

ของพระพิราพทุกอันครับ

มาถึงตรงนี้หลายคนอาจนึกตำหนิว่าหล่อด้วยเรซิ่น

แล้วมันจะมีค่าอันใดเล่า

ผมก็จะอธิบายว่าเราใช้ตัวเรซิ่นให้เป็นประโยชน์

เรื่องความแข็งความแกร่งและสามารถผสมผงต่างๆได้ตามต้องการ

พูดง่ายๆคือเรซิ่นจะเป็นตัวห่อมวลสารทั้งหลายนั่นเอง

ในส่วนที่ผมทำไว้บูชาส่วนตัวและแจกจ่ายเฉพาะคนไกล้ชิดนั้น

ผมจะบอกถึงแหล่งที่มาของมวลสารเหล่านั้น

แล้วถ้าถามว่า เองเป็นใครถึงกล้าทำของอย่างนี้

ก็ตอบว่าผมทำได้ครับเพราะการปั้นพระพิราพองค์ใหญ่นี้

มีการทำพิธิที่ถูกต้องครบถ้วน

คนทำพิธีก็เป็นครูของผมเอง

ผมไม่ได้ทำขายเอากำไร

ผมทำน้อยคนที่ได้ก็ไม่กี่คน

ถ้าจะเปรียบก็เหมือนเรานำของขึ้นไหว้พระหรือไหว้ครูนั่นเอง

เสร็จงานแล้วก็ลาของเหล่านั้นมาดื่มกินได้ฉันท์ใด

งานนี้ก็คงจะเพียงพอแล้วสำหรับคำอธิบาย

.......................

ถ้าจะดูประมวลภาพการทำงานโดยตลอดก็

คลิ๊ก

http://www.saks108.blogspot.com/

........................

ส่วนงานหน้าจะเป็นอะไรนั้นก็ค่อยติดตามนะครับ

สว้สดี

...

วันอังคารที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2553

พระพิราพ


พระพิราพ พระพิราพ




พระพิราพ
ที่เห็นนี้เป็นขั้นตอนต่อจากบทความที่แล้วครับ

เมื่อขัดแต่งจนเรียบร้อยดีแล้วก็พ่นสีรองพื้น

จากนั้นก็พ่นสีทองทับลงไป 2-3 รอบ

แล้วปล่อยให้แห้งสนิท


พระพิราพ

จากนั้นก็เริ่มลงรายละเอียด

ในส่วนต่างๆให้ครบสมบูรณ์

พระพิราพ
ตัดเส้น เขียนสี ถมลาย ตลอดจน
เสริมเติมแต่งในจุดที่เห็นควร


พระพิราพที่เห็นในรูปนี้นั้น

เป็นบรรยากาศในเช้าวันที่ไปส่งงานครับ
ทุกอย่างเป็นไปด้วยดี เรียบร้อยดี

.......



หลังจากนี้ก็คงจะเริ่มปั้นงานอื่นที่ยังคงค้างอยู่

ให้เสร็จครับ

ไม่ว่าจะเป็นพระพิฆเนศวรหรือพระพุทธรูป
ก็คงมีโอกาสนำเสนอในคราวต่อไปครับ

.....สวัสดีมีสุข.....



วันอังคารที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2553

พระพิราพ

แม่พิมพ์พระพิราพ


หล่อเรซิ่นองค์พระพิราพ
และซับใย



หล่อประกบพิมพ์องค์พระพิราพ

ฐานองค์พระพิราพ
ต่อจากตอนที่แล้วนะครับ

หลังจากเราได้แม่พิมพ์มาแล้วก็เริ่มหล่อไฟเบอร์กลาสได้เลยครับ

ก็หล่อซับไยแล้วเสริมเหล็ก เพื่อความแข็งแรง

ทุกชิ้นส่วน



หลังจากน้ำยาเรซิ่นแห้งดีแล้วก็

จะได้ตามที่เห็นในภาพครับ

ขิ้นส่วนงานต่างๆก็ทำในลักษณะเดียวกันหมดครับ


จัดวางในตำแหน่งให้เหมือนตอนที่ปั้นครับ



ประกอบส่วนต่างๆเข้าหากัน แล้วก็ทำการขัดแต่ง



เก็บผิว รอยต่อพร้อมกับทำความสะอาดไปในตัว



........



สำหรับงานอื่นก็หาดูได้ตามลิ๊งค์ข้างๆนะครับ

..............

วันจันทร์ที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2553

พระพิราพ

พระพิราพ
ขั้นตอนที่เห็นนี้คือการลงยางครับ
งานนี้เลือกใช้ยางพาราครับ ก็ทาไปเรื่อยๆจน
กว่าจะได้ความหนาที่ต้องการ

ฐานพระพิราพ ก็ทาด้วยยางพาราเหมือนกันครับ
แขน ขา หรือส่วนประกอบอื่นๆก็ทำในลักษณะ
เดียวกัน

เมื่อได้ความหนาของยางพารา
ที่พอเหมาะและยางแห้งสนิทดีแล้ว
ก็ครอบด้วยปูนปลาสเตอร์เสริมความเข็งแรงด้วย
ใยและไม้เพื่อสะดวกในการจับการยก

พระพิราพ
ที่เห็นเป็นขั้นตอน
หลังจากที่เราแกะเอาชิ้นงานปั้นต้นแบบออกแล้ว
ก็จะเหลือแต่ แม่พิมพ์ยางพาราและพิมพ์ครอบ
อย่างที่เห็นในรูป
จากนี้ต่อไปก็จะเข้าสู่ขั้นตอนการหล่อ
ด้วย ไฟเบอร์กลาส


...........
http://www.art-86.blogspot.com


.......
.