พระพิราพปาฏิหาริย์บันดาลทรัพย์

วันอังคารที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2551

พระภูมิเจ้าที่

รูปนี้เป็นรูปพระภูมิเจ้าที่ครับมือซ้ายถือคณโฑน้ำ ส่วนมือขวาถือพระขรรค์ อยู่ในซุ้มเรือนแก้ว เทคนิคหล่อเรซิ่นลงรักปิดทองครับ ด้านหลังบุกำมะหยี่สีแดง รูปร่าง ขนาด รายละเอียด เหมือนกับพระสยามเทวาธิราชครับ มีองค์เดียวครับ เจ้าของเขาขอพิมพ์ไปด้วย
อื่นๆดูได้จาก

..................

เทวดา



นี่ก็เป็นเหล่าทวยเทพเทวดาทั้งหลายครับที่เป็นอีกส่วนประกอบหนึ่งของ ซุ้มมงคล8(The Eight Auspicious Items) และซุ้มพระผู้คู่พระบารมี(Royal Consort) บริเวณพระตำหนักจิตรลดารโหฐาน
อื่นๆดูได้จาก
ครับ
...........

สิงห์ - คชสิงห์



สองรูปนี้เป็นส่วนประกอบหนึ่งของ ซุ้มมงคล 8 และซุ้มเครื่องราชสักการะ ถนนราชดำเนิน ต้นแบบใช้เทคนิคการแกะโฟมครับ ส่วนชิ้นงานที่ติดตั้งนั้นเป็นการนำมาถอดพิมพ์ หล่อไฟเบอร์กลาส แล้วทำสี เสริมโครงเหล็กภายในเพื่อความแข็งแรงครับ
อื่นๆดูได้จาก
ครับ
.................

วันพุธที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2551

พระพิฆเนศวร


รูปพระพิฆเนศวร องค์นี้ผมได้อะไรๆและไม่ได้อะไรๆหลายอย่างครับ ตั้งแต่ได้วิธีการตัดโฟมที่ไม่ต้องตั้งโต๊ะ แกะโฟมแล้วหัวไม่ลอยท้องไม่ป่องแถมยังมีเนื้อที่ให้แกะโฟมหนาอีกเป็นนิ้ว ๆ อ่านแล้วอาจงงครับ แต่เอาเป็นว่าผมแกะโฟมโดยใช้ความหนาของโฟมไม่เต็มที่ก็แล้วกัน เลยทำให้ได้มิติไม่เต็มที่ ที่ว่าได้คือ
-เทคนิคการฉลุโฟมแบบใหม่โดยไม่ต้องตั้งโต๊ะ ครับทุกวันนี้คนที่เคยร่วมงานกับผมไม่มีใครฉลุโฟมแบบเดิมแล้วครับ เชย และอีกอย่างคือได้รู้ปัญหาเกี่ยวกับความงามหลายอย่างครับว่าทำอย่างไรให้งานออกมาสวยกว่า
-ส่วนที่ไม่ได้คือ ค่าจ้างแกะโฟมครับ โทรมาบอกขนาด แล้วให้แกะโฟมเลยครับมีเวลาอาทิตย์นึง เรารึก็เร่งจนเสร็จถึงเวลาไม่มาเอา ผมก็ไม่โทรตาม ลึกๆแล้วเสียดายด้วยรับมาถูก หนึ่งปีผ่านไปก็โทรมาให้ผมตีราคางานแกะโฟมตัวใหม่ให้อีก ผมบอกไปว่าไม่รับ แกก็แก้เขินด้วยการถามว่า พระพิฆเนศวร องค์นั้นยังอยู่มั๊ย จะมาเอา ผมก็บอกว่าไม่ให้ แล้วแกก็เลยเงียบ
ปัจจุบันนี้ พระพิฆเนศวร พิมพ์นี้อยู่แม่กลองสององค์และ อยู่ร้านเพาะศิลป์อีกหนึ่งองค์ครับ ส่วนคนแกะโฟมเองอยากได้ไว้ที่บ้านก็หมดสิทธิ์แล้วครับ....
ส่วนภาพด้านบนนั้น เป็นการแกะโฟมที่ทิ้วไว้จนชำรุดเสียหายครับ
..........................................................................................................................................................................
ณ ขณะนี้ผมกำล้งแต่งองค์พระพิฆเศวรองค์นี้อยู่ครับ
จะเพิ่มลวดลายตามตามเครื่องทรงต่างๆ
ให้สวยกว่าเดิม สมบูรณ์กว่าเดิม
คาดว่าจะติดลายเสร็จก็เดือน ก.ค. 2552 นี้แหละครับ
ส่วนจะถอดพิมพ์แล้วเสร็จตอนไหนก็บอกไม่ได้
ทำไปเรื่อยๆ
ส่วนเรื่องอื่นดูได้จาก
ครับ
.....

วันศุกร์ที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2551

พระสยามเทวาธิราช





พระสยามเทวาธิราชองค์นี้ขนาดสูงประมาณ8-9นิ้วฟุตครับไม่รวมฐานสวยมากครับ ปัจจุบันอยู่บนหิ้งพระครับยังไม่ได้ปิดทองคำเปลวเลย มีเรื่องเกี่ยวกับพระสยามเทวาธิราชมาฝากด้วยครับ ในอดีต ประเทศไทยรอดจากการเป็นเมืองขึ้นและผ่านวิกฤตณ์ต่างๆมาหลายหนอย่างไม่น่าเชื่อ ในสมัยรัชกาลที่4 เสวยราชสมบัติอยู่นั้น เป็นเวลาที่มหาอำนาจทางยุโรปเข้ามามีบทบาททางภูมิภาคแถบเอเซียอาคเนย์ และใช้อำนาจอิทธิพลเข้าคุกคาม จนสามารถดึงเอาประเทศต่างๆเหล่านั้นไปเป็นเมืองขึ้นและอาณานิคมจนหมด ยกเว้นประเทศไทยประเทศเดียวที่สามารถยืนยงคงเอกราชมาได้ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำริว่า ชะรอยเมืองไทยจะมีเทพยดาองค์ใดองค์หนึ่งคอยพิทักษ์รักษาอยู่อย่างแน่นอน สมควรจะได้จัดทำรูปเทพพระองค์นั้นขึ้นไว้สักการะบูชา จึงโปรดให้พระองค์เจ้าประดิษฐวรการ เมื่อครั้งยังทรงพระยศหม่อมเจ้า รับราชการเป็นช่างเอกในกรมช่างสิบหมู่ ปั้นหล่อรูปสมมุติของเทพพระองค์นั้นขึ้น มีลักษณะเป็นเทวรูปยืน ทรงเครื่องต้นพระหัตถ์ขวาทรงพระขรรค์ ยกพระหัตถ์ซ้ายเสมอพระอุระ ในท่าประทานพร มีขนาดสูง8นิ้วฟุต เมื่อได้สัดส่วนงามดีแล้วจึงโปรดให้หล่อขึ้นด้วยทองคำทั้งองค์ เสร็จแล้วถวายพระนานว่า " พระสยามเทวาธิราช" .......ส่วงเรื่องอื่นดูได้จาก
www.art-86.blogspot.com
ครับ

พระพิฆเนศวร




พระพิฆเนศวร 2องค์นี้เป็นผลงานของหนึ่งอาจารย์ และหนึ่งเพื่อน ไม่มีขายครับ ปัจจุบันอยู่บนหิ้งพระของผมครับส่าวนงานของผมมีอะไรบ้างก็หาดูเพิ่มเติมได้จาก
www.art-86.blogspot.com
ครับ
...........

พระวิษณุกรรม



วันนี้มีเหรียญพระวิษณุกรรมมาให้ดูครับเป็นของโรงเรียนเพาะช่างมี2เหรียญซึ่งผมแขวนเป็นประจำ องค์ใหญ่นั้นเป็นรูปปั้นต้นแบบปูนพลาสเตอร์ ส่วนเหรียญเล็กนั้นเป็นเหรียญที่ย่อจากงานต้นแบบอีกทีด้านหลังมีมวลสารที่วิเศษที่สุดคือทองคำเปลวที่ปิดองค์พระวิษณุกรรมที่ตั้งอยู่บริเวณหน้าโรงเรียนเพาะช่างนั้นเมื่อมีการบูรณะใหม่ต้องลอกทองคำเปลวเก่าออกก่อนจึงปิดทับลงไปใหม่ส่วนทองคำเปลวที่ลอกออกมาก็นำมาบรรจุไว้ที่ด้านหลังเหร๊ยญดังกล่าว สวยงามมากครับ ผมโชคดีตรงที่มีทั้งต้นแบบและเหรียญจริงถึง2เหรียญครับ อื่นๆก็ดูได้จาก
www.art-86.blogspot.com
.......................

วันพฤหัสบดีที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2551

ซุ้มบุษบก



วัดที่โนนแดงโคราชเป็นการหล่อ ไฟเบอร์กลาส(fiberglass) ครับ เป็นแนวไทยอีสานประยุกต์เรียบง่ายแต่สวยงามครับงานอื่นของผมดูได้ที่
http://www.art-86.blogspot.com/

รูปปั้นช้าง(elephant sculpture)




รูปปั้นช้างพ่อ แม่ ลูกด้านบนนี้ขนาด180x260 เป็นงานหล่อไฟเบอร์กลาส ขึ้นรูปด้วยการแกะโฟมก่อนแล้วจึงทาทับด้วยดินน้ำมัน จากนั้นจึงปั้นลายละเอียดลงไปตามความงามและความเหมาะสม ซึ่งช้างแผงนี้สามารถประยุกต์ให้เป็นช้างพ่นน้ำได้ด้วยโดยการต่อสายยางหรือท่อที่ปลายงวงของช้างตัวใดตัวหนึ่งหรือทั้งสองตัวเลยก็ได้
ส่วนช้างแม่ลูกด้านล่างขนาด 240x360หล่อด้วยไฟเบอร์กลาสเหมือนกัน
อื่นๆดูจาก
ครับ
.........

วันพุธที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2551

แกะโฟม(foam caving)





งานแกะโฟมนั้นคนภายนอกดูว่าอยาก แต่สำหรับคนที่อยู่ในวงการแล้วเป็นเรื่องปกติครับ
โฟมนั้นง่ายต่อการขึ้นรูป เบา ไม่ต้องขึ้นโครง ขึ้นดิน คลุมดิน เหมือนสมัยก่อน อีกทั้งเป็นที่ยอมรับยอมรับของตลาดอีกด้วย ผลงานที่นำมาแสดงนั้นเป็นผลงานที่ผ่านมาเมื่อ10ปีที่แล้วครับ

โคมไฟเรซิ่น(resin lamp)



โคมไฟเรซิ่นหล่อใสจะมีสีออกขาวขุ่นส่วนการผสมสีในเนื้อหรือทำสีทีหลังนั้นเป็นเทคนิคที่ขึ้นอยู่กับการใช้งาน

โคมไฟเรชิ่น(resin lamp)





รูปนี่ก็เป็นโคมไฟเรซิ่นครับ เป็นทั้งแบบตั้งโต๊ะและแบบแขวน

โคมไฟเรซิ่น(resin lamp)

นี่เป็นผลงานการหล่อโคมไฟเรซิ่นอีกครับ เป็นโคมไฟติดผนัง เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ20ซม.ทำสีตามแบบของลูกค้า เนื้อเรซิ่นหนาประมาณ1ซม. ความหนาทั้งหมดประมาณ10ซม.

วันอังคารที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2551

ซุ้มช้างคู่พระบารมีเฉลิมพระเกียรติ(fiber glass)



ตบท้ายด้วยบรรยากาศตอนกลางคืนและเกร็ดเล็กๆน้อยๆครับ คือในสมัยโบราณนั้นช้างเผือกมีความสำคัญยิ่งต่อพระมหากษัตริย์และประเทศชาติ เป็นสัตว์คู่บ้านคู่เมือง แสดงถึงความอุดมสมบูรณ์ ความเจริญมั่งคั่ง แผ่นดินของพระมหากษัตริย์พระองค์ใดพบช้างเผือกเป็นจำนวนมาก แสดงว่าทรงถึงพร้อมดัวยพระบุญญาบารมี ลักษณะของซุ้มเป็นรูปช้างยืนบนแท่นเชิญตราสัญลักษณ์พระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา๘0พรรษา ๕ ธันวาคม ๒๕๕0 ดอกบัวเป็นสัญลักษณ์ของพระพุทธศาสนา และหมายถึงปัญญาซึ่งในที่นี้สื่อถึงแนวความคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

ซุ้มช้างคู่พระบารมีเฉลิมพระเกียรติ(fiber glass)



นี่เป็นอีกมุมนึงที่สวยมาก แต่ทำความลำบากใจให้คนทำงาน เพราะข้างหลังนั้นเป็นสิ่งที่ทุกคนทั่วโลกยกย่องว่าสวยงามและอยากจะมาสัมผัส ศิลปินผู้ออกแบบจึงต้องเครียดเป็นธรรมดาครับ

ซุ้มช้างคู่พระบารมีเฉลิมพระเกียรติ(fiber glass)












เสร็จแล้วครับ จากที่เห็นเป็นโฟมก้อนๆ เผลอแป๊ปเดียว
เสร็จตามที่เห็นในรูปนี่แหละครับ

เสนอหน้า



ขอซักรูปนะครับ เห็นอย่างนี้แล้วอย่าคิดว่ารับเละ รวยเป็นแสนนะครับ ผมก็แค่ลูกจ้างธรรมดานี่แหละครับ

ซุ้มช้างคู่พระบารมีเฉลิมพระเกียรติ(fiber glass)





สำหรับตราสัญลักษณ์พระชนมายุ80พรรษานั้นหมุนได้ครับ
เฉพาะตราก็สูงประมาณ 250ซม.แล้วครับ

ซุ้มช้างคู่พระบารมีเฉลิมพระเกียรติ(fiber glass)



ให้ดูขนาดเต็มๆ

ซุ้มช้างคู่พระบารมีเฉลิมพระเกียรติ(fiber glass) ทำสี(painting)



ขั้นตอนนี้เป็นการเก็บสีที่เกิดจากการขนย้าย ติดตั้ง บุคลากรในภาพนั้นเป็นอาจารย์คณะศิลปะประจำชาติ โรงเรียนเพาะช่างครับ

ซุ้มช้างคู่พระบารมีเฉลิมพระเกียรติ(fiber glass)



หลังจากได้ตำแหน่งช้างแล้วก็ใส่เครื่องสูง เชื่อม ประกอบให้ได้ระดับ

ซุ้มช้างคู่พระบารมีเฉลิมพระเกียรติ(fiber glass)



ค่อยๆประกอบทีละตัวให้ได้ระยะตามแบบที่กำหนด

ซุ้มช้างคู่พระบารมีเฉลิมพระเกียรติ(fiber glass)








รูปนี้เป็นการนำช้างไปประกอบ ณ หน้างานบริเวณศาลหลักเมือง-วัดพระแก้ว
**************

ซุ้มช้างคู่พระบารมีแม่พิมพ์และหล่อ

ขั้นตอนการทำพิมพ์ใช้เทคนิค ไฟเบอร์หล่อไฟเบอร์ ครับ
ขั้นตอนการประกอบชิ้นส่วน

เป็นรูปเป็นร่างแล้วก็เสริมโครงสร้างภายในด้วยเหล็กครับ


ก่อนทำสีก็ต้องทำความสะอาดชิ้นงานให้เรียบร้อยก่อน
รองพื้นด้วยสีรองพื้น ทำสีผิว สีงา เล็บ ตา และลอยกระต่างๆ
ตามลักษณะช้างมงคลส่วนเครื่องทรงต่างๆต้องแยกทำต่างหาก
*****

หล่อไฟเบอร์กลาส(fiber glass)



นี่เป็นการหล่อไฟเบอร์กลาสครับ
ต้องมีการเสริมเหล็กเพื่อความแข็งแรงจากนั้นก็ต่อส่วนประกอบต่างๆ
ขัดแต่งให้เรียบร้อยเตรียมทำสีต่อไป
************

ซุ้มช้างคู่พระบารมี (foam caving)



วันนี้เอารูปขั้นตอนการทำงานซุ้มเฉลิมพระเกียรติ ซุ้มช้างคู่พระบารมี
ซึ่งตั้งอยู่บริเวณศาลหลักเมือง-วัดพระแก้ว กรุงเทพมหานคร

เริ่มต้นด้วยการขยายแบบจากแปลนให้เท่าขนาดจริงลงบนกระดาษแข็งเสียก่อน
จึงค่อยต่อโฟมป็นส่วนลำตัว ต่อขา หัว และงวง

จากนั้นก็เริ่มแกะ ตัด ปาด ส่วนเกินหรือส่วนที่ไม่ต้องการออก
เช็ค สัดส่วน สมดุลย์ซ้ายขวาเป็นระยะๆ เก็บผิวให้ตึง
โป๊วรอยต่อที่ไม่เรียบร้อยเพื่อเตรียมทำพิมพ์หล่อไฟเบอร์กลาสต่อไป
อื่นๆหาดูได้จากในบลอกและที่
www.art-86.blogspot.com
ครับ
***********